7. จอมพล ป.พิบูลส งครามได้วาดผังเมืองใหญ่ 2 แห่ง คือ 1.
บริเวณเพชรบูรณ์ 2. บริเวณหล่มสักและหล่มเก่า มีการกำหนดให้กระทรวง
ทบวง กรมต่าง ๆ ได้กระจายตั้งกันอยู่ทั่วจังหวัด
โดยมิให้กระจุกตัวกันอยู่ในเมืองเหมือนกรุงเทพฯมีการสร้างสำนักนายกรัฐมนตรี
และศาลารัฐบาล ณ บริวณน้ำตกห้วยใหญ่ หลังที่ตั้งกระทรวงพาณิชย์
ปลายห้วย ป่าไม้แดง โดยให้ พ.ต.ล้อมบูรกรรมโกวิท
เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง (ถนนบุรกรรมโกวิทเป็นอนุสรณ์)
นอกจากนั้นยังสร้างทำเนียบ "บ้านสุขใจ" ติดแม่น้ำป่าสัก
เป็นที่พักอาศัยของจอมพล ป.พิบูลสงครามและครอบครัว
(บริเวณโรงน้ำแข็งเพชรเจริญเดิม) ทำเนียบ "สามัคคีชัย" ที่เขารัง
และทำเนียบที่บ้านน้ำก้อใหญ่ไว้เป็นที่พักแรมมีถนนเข้าชื่อ
เชิดบุญชาติ มีการวางแผนสร้างบ้านบัญชาการสำนักนายกฯ
ที่บริเวณบึงสามพันด้วย
8.
การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในขณะนั้นได้มีการจักงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสร้างศาลากลางเพชรบูรณ์
(บริเวณเดียวกับที่ตั้งศาลากลางจังหวัดปัจจุบัน)
และการเตรียมย้ายรัฐบาลมายังเพชรบูรณ์ จนกระทั่งมีการแต่งตั้ง
พ.อ.ช่วงเชวงศักดิ์สงคราม เป็นรองนายกรัฐมนตรี
มีหน้าที่ดูแลกิจการทั้งสิ้นที่เพชรบูรณ์แทนนายกรัฐมนตรี
และมีอำนาจอย่างนายกฯเรียกว่า รองนายกฯ ประจำเพชรบูรณ์
และเมื่อเดือนตุลาคม 2486
ได้มีการปรับปรุงเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ให้เป็นเทศบาลนครเพชรบูรณ์
เพื่อรองรับการก่อสร้างและการขยายตัวของเมืองหลวงใหม่
9. ได้มีคำสั่งย้ายกรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการ)
มาอยู่บ้านยาวี อำเภอเมืองฯ จัดการวางผังสร้างกรมไปรษณีย์ กรมทาง
และกรมขนส่ง ที่บ้านท่าพล อำเภอเมืองฯ
มีการวางแผนสร้างทางรถไฟจากอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
มาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงจังหวัดเลย
มีการสร้างบำรุงถนนสายหลักเพชรบูรณ์
ตั้งแต่เชิงเขาวังชมภูถึงค่ายทหาร บ้านหินอาว อำเภอหล่มเก่า
ตั้งกระทรวงศึกษาที่บ้านหนองแส ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก
แม้แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีแผนที่จะต้องอพยพมาเปิดสอนที่เพชรบูรณ์ด้วย
โดยจะสร้างที่บ้านไร่ ตำบลสะเดียง แต่ขณะนั้นโรงเรียนเตรียมจุฬาฯ
ได้อาศัยเรียนที่โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์
(เดิมเป็นโรงเรียนเพชรพิทยาคม)
10.
การก่อสร้างและติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น จอมพล
ป.พิบูลสงครามได้สั่งการให้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้หลายแห่งทั้งในเมืองและหน่วยราชการมีการเพิ่มโทรศัพท์ให้เพียงพอแก่ความต้องการของราชการปรับปรุงการโทรเลข
มีการสร้างโรงหนังไทยเพ็ชรบูล
สโมสรรัตนโกสินทร์และโรงแรมขึ้นในเขตเมืองเพชรบูรณ์เพื่อให้ข้าราชการได้ใช้เวลามาตรวจราชการ
มีการสั่งการให้สร้างตลาดสดและอาคารเช่า 3 แห่ง คือ ตลาดเพชรบูรณ์
ตลาดวังชมภู และตลาดหล่มสัก ซึ่งทุกแห่งต้องมีโรงมโหรสพด้วย
มีการออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในนครบาลเพชรบูรณ์ชื่อ
เพชรบูลชัย
11.
ได้มีการสั่งย้ายโรงพิมพ์ทุกประเภทมาที่เพชรบูรณ์
เพื่อเวลากรุงฯถูกโจมตีทางอากาศไม่สามารถทำงานได้
จะได้ใช้โรงพิมพ์ตั้งใหม่ที่เพชรบูรณ์ พิมพ์หนังสือราชการ
(ตั้งอยู่บ้านป่าแดง) และโรงพิมพ์ธนบัตร(อยู่ที่หนองนายั้ง)
จัดตั้งโรงเลื่อยที่วังชมภูโดยกรมยุทธโยธา (โรงเลื่อย ยย.)
สร้างกระทรวงสาธารณสุขที่บ้านวังซองตำบลท่าพล อำเภอเมืองฯ
และโรงพยาบาลที่ร่องแคน้อย ตำบลสะเดียง
(บริเวณสถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ปัจจุบัน)
ให้ชักชวนผู้รับเหมางานที่เพชรบูรณ์
เพราะมีการก่อสร้างทั้งส่วนราชการและเอกชนจำนวนมาก
หากไม่มีใครมาก็ต้องเกณฑ์ให้มาจนพอแก่งาน
12.
การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ได้ดำเนินการโดยเร่งด่วน
และถือเป็นความลับของราชการ ยุทธของชาติตลอดมา
เพื่อมิให้ข้าศึกรู้แผนการณ์ กระทั่งวันที่ 20 กรกฎาคม 2487
รัฐบาลจอมพล ป.พอบูลสงคราม
ได้เสนอพระราชกำหนดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ฯ พ.ศ. 2487
ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่ออนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ
มีผลดำเนินการอย่างถาวรตลอดไป
แต่ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติด้วยคะแนนเสียง 48 ต่อ 36
ด้วยเหตุผลว่า
"เพชรบูรณ์เป็นแดนกันดารภูมิประเทศเป็นป่าเขาและมีไข้ชุกชุม
เมื่อเริ่มสร้างเมืองนั้นผู้ที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานล้มตายลงนับเป็นพัน ๆ
คน...." อนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์แห่งนี้
จึงสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุญคุณและอัจฉริยภาพของจอมพล ป.พิบูลสงคราม
และเพื่อคนเพชรบูรณ์จะได้ภูมิใจในประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งและความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองตน