วันที่ 29 / เม.ย. / 2567

แจ้งปัญหาเทศบาล - ถามตอบ

เรื่อง เรื่อง เดือดร้อนจากเสียงรถปิกอัพโฆษณาเปิดเสียงดัง

คำถาม

1. รถปิกอัพโฆษณาที่วิ่งในเขตตลาดเปิดเสียงดังมากชาวบ้านเขาด่ากันมาก ช่วยแก้ไข ให้ด้วย 2. เขตปลอดใช้เสียงดัง ตั้งแต่โรงพยาบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยราชภัฎ มีสถานศึกษา หลายแห่งไม่ควรให้รถโฆษณาเปิดเสียงโฆษณาที่ดังมาก ผ่านเส้นทางนี้ 3. การใช้เสียงโฆษณามีการกำหนดเวลาเริ่มตั้งแต่เวลา-สิ้นสุดเมื่อ แต่มีรถปิกอัพ โฆษณา เริ่มเปิดเสียงวิ่งรถโฆษณาตั้งแต่ยังไม่ถึง 8 โมงเช้าเลย ผิดกฏหมายสร้าง ความรำคาญช่วยแก้ไขให้ด้วย เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 57เวลา 10:19:09 โดย สงบ IP: 114.109.124.93 ( ครั้งที่ 1 ) พนักงานเทศบาลอาจจะไม่รู้กฎหมายผมเลยแนบระเบียบการโฆษณามาให้ดูจะได้รู้อำนาจหน้าที่ของตนเอง ให้ดูที่มาตรา 6 มาตราที่ 1-10 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493" มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในจังหวัดพระนคร และจังหวัด ธนบุรีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ส่วนที่จะใช้ที่ อื่นเมื่อใดให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา 3 พระราชบัญญัตินี้ คำว่า "โฆษณา" หมายความว่า การบอก กล่าว แจ้งความ ชี้แจง แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชน มาตรา 4 ผู้ที่จะทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้า จะต้องขอรับอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงทำการ โฆษณาได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับอนุญาต และให้มีอำนาจ กำหนดเงื่อนไขลงในใบอนุญาตว่าด้วยเวลาสถานที่ และเครื่องอุปกรณ์ขยาย เสียง และผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดนั้น มาตรา 5 ใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกให้แก่ ผู้ทำการโฆษณา ตามความในพระราชบัญญัตินี้ให้คุ้มครองถึงผู้ใช้เสียงและผู้ควบคุมเครื่องขยาย เสียง ในการโฆษณา และบุคคลเช่นว่านี้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบ อนุญาตด้วย มาตรา 6 พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ชั้น ผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจสั่งผู้ใช้เสียงหรือผู้ ควบคุมเครื่องขยายเสียงให้ลดเสียงลงได้ เมื่อปรากฏว่าเสียงที่โฆษณานั้นก่อ ความรำคาญแก่ประชาชนถ้าการโฆษณากระทำผิดเงื่อนไขในใบอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ของเจ้าพนักงานที่สั่งตามความในวรรคก่อน ให้เจ้าพนักงานดังกล่าวมีอำนาจ สั่งให้หยุดโฆษณาได้ มาตรา 7 การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องโฆษณาเป็นภาษา ไทยคำว่า "ภาษาไทย" นั้น ให้หมายความรวมถึงภาษาพื้นเมืองบางแห่งใน ประเทศไทยด้วย มาตรา 8 พระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่การโฆษณา 1. คำสอนในทางศาสนา 2. ของหน่วยราชการของรัฐ 3. หาเสียงเพื่อประโยชน์แก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน สมาชิกสภา จังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งโฆษณาเป็นภาษาไทย 4. กิจการของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทน สมาชิกสภาจังหวัดหรือ สมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งโฆษณาด้วยตนเองเป็นภาษาไทย 5. กิจการเกี่ยวกับการมหรสพ เฉพาะในโรงมหรสพ และในระหว่าง เวลาที่แสดงมหรสพ 6. กิจการของนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอันเป็นสาธารณะกุศลซึ่ง นิติบุคคลนั้นโฆษณาเป็นภาษาไทย มาตรา 9 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 4 มาตรา 5 หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ สั่งตามความใน มาตรา 6 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ด้วยผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 7 มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง เพิกถอนใบอนุญาตเสียด้วย มาตรา 10 ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และ ออกกฎกระทรวง 1. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการอนุญาตซึ่งต้องไม่เกินฉบับละ 100 บาท 2. กำหนดกิจการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

เมื่อวันที่   21 ธ.ค. 57เวลา 10:17   โดย สงบ IP: 114.109.124.93